กำหนดการ
การสัมมนาเรื่อง “การวิจารณ์วรรณกรรมของวินทร์ เลียววาริณ”
วันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๙.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.
ณ ห้อง ๒๐๗ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

๐๘.๓๐ – ๐๙.๑๕ น.             
ลงทะเบียน
๐๙.๑๕ – ๐๙.๓๐ น.             
หัวหน้าโครงการวิจัยกล่าวเปิดการเสวนา
๐๙.๓๐ – ๑๐.๑๕ น.             
พื้นที่ของวินทร์ เลียววาริณในวงวรรณกรรมร่วมสมัย
                         ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา

๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ น.
            
พัก – อาหารว่าง

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.              
นวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลงานของวินทร์ เลียววาริณ
รศ. ดร. สรณัฐ ไตลังคะ
จรูญพร ปรปักษ์ประลัย
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.             
รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.             
วิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ผลงานเขียนของวินทร์ เลียววาริณ
ศ. ดร. กุสุมา รักษมณี
รศ. ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์      
๑๔.๓๐ – ๑๕.๑๕ น.             
สนทนากับนักเขียน : วินทร์ เลียววาริณ
                              ศ. ดร. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์
– ความคิดในการสร้างงาน
– ความเห็นต่อการวิจารณ์      
– ทิศทางของวรรณกรรมในสังคมปัจจุบัน
๑๕.๑๕ – ๑๕.๓๐ น.             
พัก – อาหารว่าง
๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.             
การอภิปราย ซักถาม จากผู้เข้าร่วมเสวนา
๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.             
การสรุปเชิงวิเคราะห์จากหัวหน้าโครงการ

โครงการสัมมนาเรื่อง “การวิจารณ์วรรณกรรมของวินทร์ เลียววาริณ”

ความเป็นมาของปัญหา
      วินทร์ เลียววาริณ เป็นนักเขียนร่วมสมัยผู้หนึ่งที่มีผลงานโดดเด่น สร้างสรรค์ผลงานจำนวนมากทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย และได้รับรางวัลระดับชาติ ได้แก่ รางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ๒ ครั้ง รวมทั้งได้รับรางวัลศิลปาธร ประจำปี ๒๕๔๙ ด้วย วรรณกรรมของวินทร์ เลียวาริณมีความโดดเด่นในด้านนวัตกรรมการสร้างสรรค์ การเสนอกลวิธีแปลกๆ ใหม่ ๆ ในการสื่อความหมายอย่างไม่หยุดนิ่ง การประสานศิลปะหลายแขนงในงานเขียน และความหลากหลายด้านรูปแบบและเนื้อหา
      วรรณกรรมของวินทร์ได้รับการตอบรับจากนักอ่านรุ่นใหม่เป็นอย่างดี การพิมพ์เอง-ขายเองและการเปิดเว็บไซด์ของตนเอง ทำให้สามารถสร้างปฎิสัมพันธ์กับนักอ่านโดยตรง ผลงานของวินทร์ท้าทายการวิจารณ์ ทำให้มีบทวิจารณ์จำนวนไม่น้อย รวมทั้งได้รับสนใจในแวดวงการศึกษา ทำให้มีการทำวิทยานิพนธ์เพื่อศึกษาเจาะลึกผลงานเขียนอย่างเป็นวิชาการ
ดังนั้น การเสวนาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ผลงานที่จูงใจให้เกิดการวิจารณ์บทบาทของผลงานในแวดวงวรรณกรรมร่วมสมัยและวงการศึกษา

วัตถุประสงค์
๑.      เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานของวินทร์ เลียววาริณ จากสายตาของบรรณาธิการ นักวิจารณ์ และนักวิชาการ
๒.      เพื่อวิเคราะห์บทวิจารณ์งานของวินทร์ เลียววาริณ
๓.      เพื่อศึกษาทัศนะแนวคิดของผู้เขียนต่อการสร้างสรรค์และการวิจารณ์ในวงวรรณกรรมร่วมสมัย

รูปแบบการดำเนินงาน
      สัมมนาทางวิชาการ ๑ วัน ผู้ร่วมการเสวนาประมาณ ๑๐๐ คน ประกอบด้วยนักวิจารณ์ นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน และผู้สนใจทั่วไป

ระยะเวลาและสถานที่ในการจัดงาน
      วันเสาร์ที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๕๒ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง ๒๐๗ ศูนย์มานุษยวิทยา
สิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

เอกสารประกอบการสัมมนา
      รวมบทวิจารณ์และบทความวิชาการเกี่ยวกับผลงานของวินทร์ เลียววาริณ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      ๑. เอกสารจากการถอดเทปการสัมมนา
      ๒. รายงานวิเคราะห์การสัมมนา
      ๓. บทวิเคราะห์บทความวิจารณ์และผลงานวิชาการ

ใบสมัครเข้าร่วมการสัมมนา เรื่อง “การวิจารณ์วรรณกรรมของวินทร์ เลียววาริณ”
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์ ภาค 2”
ณ ห้อง 207 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2552 เวลา 08.30-16.30 น.
(โดยการสนับสนุนของกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สกว.] ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร)

——————————————————

1. ชื่อ ………………………………………….       นามสกุล ………………………………………………
2. เพศ ……………..             อายุ ……………. ปี             อาชีพ …………………………….………………
      ตำแหน่งทางวิชาการ ……………………………………………………………….………(โปรดระบุถ้ามี)
3. ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก ………………………………………………………………………………………
       ………………………………………………………………………………………………………………..
       โทรศัพท์ : ………………………………………      โทรสาร : ……………………………………………
       E-mail : …………………………………………………………………………………………………..
4. การศึกษาขั้นสูงสุด ……………………………..      สาขา ………………………………………………
       จากสถาบัน ……………………………………………………………………………………………….

โปรดส่งใบสมัครกลับไปภายในวันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2552 ที่
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์ ภาค 2”
ชั้น 8 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ : 0-2435-3962: /โทรสาร : 0-2434-6257 E-mail : [email protected]

•      ค่าลงทะเบียน 300 บาท (รวมค่าเอกสาร ค่าอาหารกลางวัน และ ค่าอาหารว่าง )
•      การชำระค่าลงทะเบียน ขอให้ชำระเงินในวันสัมมนาฯ

       กำหนดปิดรับสมัคร วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2552