โครงการรวมพลคนกินปลา
กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน เพราะประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิประเทศโซนร้อน และมีลักษณะภูมิประเทศที่ประกอบไปด้วย แม่น้ำลำธาร กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ในขณะที่พื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศติดอยู่กับทะเล มีชายฝั่งรวมกันทั้งอันดามันและอ่าวไทย ซึ่งมีความยาวประมาณ 2,614 กิโลเมตร มีพื้นที่ 22 จังหวัดที่ติดพื้นที่ชายฝั่งทะเล และทุกจังหวัดมีกลุ่มผู้ประกอบอาชีพทางการประมงทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ทำให้สังคมไทยไม่เคยขาดแคลนอาหารโปรตีนจากสัตว์น้ำที่หลากหลาย ทั้งจากแหล่งน้ำจืด แหล่งน้ำกร่อยจากทะเลสาบ และทะเลนอกทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน
ด้วยการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ล้มเหลว ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยไม่ได้รับการปกป้อง ดูแล หรือฟื้นฟูอย่างเป็นระบบ ส่งผลให้แม่น้ำลำคลองเน่าเสีย เป็นแหล่งทิ้งสิ่งปฏิกูล ป่าชานเลนถูกทำลาย ทำให้เกิดปรากฎการณ์อันกระทบต่อแหล่งอาหาร โดยเฉพาะ กุ้ง หอย ปู ปลา อันเป็นอาหารโปรตีนหลักของสังคมไทยลดลงอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการของผู้คนในสังคม ในขณะที่ในอดีตประเทศไทยเคยเป็นประเทศที่ส่งออกอาหารทะเลอยู่ในอันดับต้นๆ ของโลก เป็นแหล่งรอบรับอาชีพทางตรงของชาวประมงพื้นบ้านกว่า 500,000 ครอบครัว มีผู้ประกอบการอันเต่อเนื่องจากอาชีพประมงไม่ต่ำกว่า 3,000,000 คน อาชีพการประมงจ้างเป็นอาชีพที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจและสังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง ที่ควรได้รับการปกป้องดูแลสนับสนุนส่งเสริมให้มีความสามารถในการดูและอาชีพตัวเอง ดูแลครอบครัวและชุมชน ดูแลปกป้อง พิทักษ์ อนุรักษ์ ทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง และทรัพยากรแห่งท้องทะเล จำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ให้เป็นแหล่งอาหารโปรตีนให้อยู่คู่กับสังคมไทยตลอดไป หากเราพิจารณาเฉพาะการจับสัตว์น้ำในอ่าวไทยเราจะพบว่าพันธุ์สัตว์น้ำในอ่าวไทยลดจำนวนลงเรื่อยๆ ดังเช่นผลของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบของการทำประมงอวนลากต่อทรัพยากรชายฝั่ง
(1) ผลการวิจัยในช่วงก่อนหน้านี้ได้ประเมินว่า ศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืนของทรัพยากรประมงปลาหน้าดินในอ่าวไทย (ห่างจากฝั่งออกไปจนถึงระดับความลึก 50 เมตร) คือ 750,000 ตัน คิดเป็นชั่วโมงของการทำประมงอวนลากประมาณ 8.6 ล้านชั่วโมง อย่างไรก็ตาม ประมงอวนลากได้ทำประมงเกินศักยภาพของทรัพยากรสัตว์หน้าดินนี้นับตั้งแต่ปี 2516 เป็นต้นมา
(2) ในปี 2525 ผลผลิตสัตว์น้ำหน้าดินทั้งหมดจากประมงอวนลาก คิดเป็นประมาณ 990,000 ตัน ซึ่งสูงกว่าศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืนถึงร้อยละ 31
(3) ในปี 2529 ผลการจับสัตว์น้ำของการทำประมงอวนลากมีปริมาณ 648,560 ตัน ในขณะที่การลงแรงประมงอวนลากทั้งหมดสูงถึง 11.9 ล้านชั่วโมง ตัวเลขนี้ชี้ให้เห็นถึงการลดลงของทรัพยากรที่ส่งผลให้มีการลงแรงประมงสูงขึ้นเพื่อการจับผลผลิตสัตว์น้ำที่ลดลง1
(4) ผลการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำที่เกิดขึ้นนี้ เห็นได้จากอัตราการจับโดยประมงอวนลากต่อหนึ่งหน่วยการทำประมง (CPUE) ซึ่งในปี 2504 คิดเป็น 297.6 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ลดลงเป็น 49.2 กิโลกรัมต่อชั่วโมงในปี2525 2, และ 22.78 กิโลกรัมต่อชั่วโมง ในปี 2534
(5) จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบของผลผลิตสัตว์น้ำของการทำประมงอวนลากในช่วงต้นศตวรรษที่ 90 นั้น ประกอบด้วยสัตว์น้ำเศรษฐกิจร้อยละ 33.3 และ ปลาเป็ดร้อยละ 66.7 (ร้อยละ 30.1 ของปลาเป็ด เป็นวัยอ่อนของสัตว์น้ำเศรษฐกิจที่สำคัญ)
(6) ผลการศึกษาเมื่อไม่นานมานี้ ของ the US National Academy of Sciences ได้แสดงให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบของการทำประมงอวนลากต่อแหล่งที่อยู่อาศัยพื้นท้องทะเล
อัตราการจับต่อชั่วโมงอวนลากในอ่าวไทย
ปี พ.ศ. อัตราการจับ กก./ชม. ปี พ.ศ. อัตราการจับ กก./ชม. ปี พ.ศ. อัตราการจับ กก./ชม. ปี พ.ศ. อัตราการจับ กก./ชม.
2504 298 2511 103 2519 57 2527 47
2505 277 2512 97 2520 47 2528 43
2506 232 2513 66 2521 48 2529 40
2507 226 2514 63 2522 47 2530 31
2508 179 2515 52 2523 44 2531 25
2509 132 2516 58 2524 39 2532 20
2509 115 2517 47 2525 40
2510 106 2518 47 2526 39
ที่มา : เรือสำรวจประมง 2 กองประมงทะเล กรมประมง
จากตัวเลขการลดลงของพันธ์สัตว์น้ำในทะเลดังกล่าว นอกเหนือจากการกระทบต่อผู้ประกอบอาชีพทางการประมงแล้ว ในส่วนของผู้บริโภคก็ต้องเปลี่ยนจากอาหารโปรตีนจากธรรมชาติไปรับประทาอาหารโปรตีนมือสองเช่นไก่เนื้อ กุ้ง ปลา จากการเพาะเลี้ยง ที่ใช้เวลาเลี้ยงระยะสั้นๆ ปนเปื้อนไปด้วยสารเคมีและยาปฏิชีวนะที่หลากหลาย ส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคมากขึ้นทุกวัน
ทางสมาคมรักษ์ทะเลไทย มูลนิธิเพื่อผู้ผู้บริโภค คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ จึงเห็นพ้องร่วมกันที่จะจัดให้มีโครงการรวมพลคนกินปลาขึ้น
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงต้นทุนเดิมของสังคมไทย โดยเฉพาะต้นทุนอาหารโปรตีนจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ที่มีอยู่ในสังคม
2. เพื่อนำเสนอสถานการณ์ ปัญหา และทางออกเพื่อให้ทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำได้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
3. เพื่อแสวงหาความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง ในการร่วมมือกันในการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรแหล่งน้ำทะเลและชายฝั่งของประเทศ
4. เพื่อให้ผู้บริโภคและชาวประมงพื้นบ้านได้มีปฏิสัมพันธ์กัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
เวลา/สถานที่ ระหว่างวันที่ 7 9 ธันวาคม 2550
ณ ถนนพระอาทิตย์ กรุงเทพฯ
องค์กรร่วมจัด
1. สมาคมรักษ์ทะเลไทย เลขที่ 57/219-220 หมู่บ้านเคหสถานครูไทย ตำบลพะวง อำเภอเมือง จ.สงขลา
2. มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค 211/2 ซอยงามวงศ์วาน 31 อ.เมือง จ.นนทบุรี
3. คณะกรรมการประสานงานองค์กรพัฒนาเอกชน (กป.อพช.) อาคารมูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม ซอยโลหิตสุข ห้วยขวาง กรุงเทพฯ
4. สมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้ เลขที่ 8/3 ถนนโคกขัน ตำบลทับเที่ยง อำเภอเมือง จังหวัดตรัง 92000
5. มูลนิธิเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เลขที่ 86 ซอยลาดพร้าว 110 ถนนลาดพร้าว วังทองหลาง กรุงเทพฯ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทำให้สังคมไทยได้ตระหนักถึงต้นทุนเดิมของสังคมไทย โดยเฉพาะต้นทุนอาหารโปรตีนจำพวกกุ้ง หอย ปู ปลา ที่มีอยู่ในสังคม
2. สามารถนำเสนอสถานการณ์ ปัญหา และทางออกเพื่อให้ทรัพยากรพันธุ์สัตว์น้ำได้กลับมาอุดมสมบูรณ์ดังเดิม
3. ได้รับความร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้บริโภค และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพประมง
4. ทำให้ผู้บริโภคและชาวประมงพื้นบ้านได้มีปฏิสัมพันธ์กัน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน
กำหนดการงานรวมพลคนกินปลา
7 9 ธันวาคม 2550
ณ ถนนพระอาทิพย์ กรุงเทพฯ
วัน/เดือน/ปี เวลา กิจกรรม
7 ธันวาคม 2550
13.00-14.00 น.
นำเสนอสถานการณ์ปัญหาของทรัพยากรชายฝั่ง และชุมชนประมงพื้นบ้าน
ดร.จารุณี เชี่ยววารีสัจจะ อาจารย์ภาควิชาวาริชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่
นายสะมะแอ เจ๊ะมูดอ เลขาฯสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้าน ภาคใต้
นายวิทัศน์ แก้วศรี ประธานสมาพันธ์ชาวประมงทะเลสาบสงขลา
นายอาหลี ชาญน้ำ ที่ปรึกษาสมาพันธ์ประมงพื้นบ้าน จังหวัดกระบี่
ดำเนินรายการโดย นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี
14.3016.30 น.
นำเสนองานวิจัย หมู่บ้านคนตกปลา โดย
คุณพิกุล สิทธิประเสริฐกุล
คุณนูรุดดีน โตะตาหยง
ตัวแทนชาวบ้านปาตาบาระ อ.ปานาเระ จ.ปัตตานี
ดำเนินรายการโดย นางสาวศุภวรรณ ชนะสงคราม
16.30-20.00 น.
นิทรรศการ / วีดีโอวิถีประมงพื้นบ้าน
วัน/เดือน/ปี เวลา กิจกรรม
8 ธันวาคม 2550
8.3012.00น.
ทัศนะผู้บริโภคต่ออาหารทะเลโดย คุณสารี อ๋องสมหวัง
..
.
ดำเนินรายการโดย คุณวัชระ ทิพย์ทอง ผู้ประสานโครงการเครือข่ายความร่วมมือฟื้นฟูชุมชนชายฝั่งอันดามัน จังหวัดสตูล
13.00 18.00 น.
สาธิตการทำอาหารทะเล จากกลุ่มแม่บ้านประมงพื้นบ้าน
กลุ่มผู้บริโภคพบชาวประมงพื้นบ้าน
เปิดตลาดสินค้าประมงพื้นบ้าน
9 ธันวาคม 2550
09.00-12.00 น.
ตลาดนัดคนกินปลาพบคนจับปลา
บูดู ปลาอินทรีย์เค็ม จาก จังหวัดปัตตานี
ปลากระบอกเค็ม จากทะเลสาบสงขลา
ปลาแห้งหลากชนิดจากทะเลอันดามัน
ปลาส้มจากชมรมประมงพื้นบ้าน จังหวัดสตูล
กุ้งเสียบ จากชมรมประมงพื้นบ้านอำเภอปากพะยูน จังหวัดพัทลุง
ชมการปรุงอาหารทะเลหลากหลายชนิดจากเครือข่ายแม่บ้านสมาพันธ์ชาวประมงพื้นบ้านภาคใต้