สวัสดีครับทุกท่าน

ขอส่งกำหนดการสัมมนาของคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำเดือนพฤศจิกายน 2550 มาให้ และฝากประชาสัมพันธ์ในเครือข่ายของท่านด้วยครับ

งานใหญ่ประจำเดือนพฤศจิกายนคือ งานสัมมนาลำดับที่ 5 ของเดือน นั่นคือ เสวนาวิชาการเรื่อง “ความยากจน แรงงาน และสวัสดิการ: โจทย์สำหรับรัฐและชุมชน” ตลอดทั้งวัน ในวันจันทร์ที่ 26 พ.ย.

ผู้สนใจสามารถเข้าฟังสัมมนาทุกรายการได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ กรุณาเช็คข่าวสารล่าสุดจากเว็บไซต์ http://www.econ.tu.ac.th/seminar ก่อนเข้าร่วมสัมมนา เผื่อมีการเปลี่ยนแปลงกำหนดการหรือยกเลิกสัมมนา

ขอบคุณครับ

คณะทำงานสัมมนาฯ คณะเศรษฐศาสตร์ มธ.

……………………..

1. สัมมนาเรื่อง “เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก…ที่คนไทยไม่เคยรู้”, จ.12 พ.ย.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย จัดสัมมนาเรื่อง “เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก…ที่คนไทยไม่เคยรู้” ในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2550 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

กำหนดการมีดังนี้

13.00 – 13.30 น. ลงทะเบียน

13.30 – 13.35 น. นำเข้าสู่การสัมมนา โดย ผศ.ดร. เกรียงไกร เตชกานนท์ ผู้ดำเนินรายการ

13.35 – 14.20 น. “ภาพรวมอุตสาหกรรมเหล็ก…ที่คนไทยไม่เคยรู้” โดย คุณวิกรม วัชระคุปต์ ผู้อำนวยการ สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย

14.30 – 15.00 น. “แง่คิดและมุมมองจากผู้ประกอบการ…ที่คนไทยไม่เคยรู้” โดย คุณวิน วิริยประไพกิจ กรรมการเครือสหวิริยา

15.00 – 16.00 น. “เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก ผ่านแว่นตานักเศรษฐศาสตร์” โดย รศ.ดร. ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

2. สัมมนาบทความวิชาการเรื่อง “Price Effects of Boutique Motor Fuels”, อ.13 พ.ย.

Professor W. David Walls แห่ง Department of Economics, University of Calgary ให้เกียรติมานำเสนอบทความวิชาการเรื่อง “Price Effects of Boutique Motor Fuels” ในวันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน 2550 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.นิธินันท์ วิศเวศวร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ผู้สนใจสามารถอ่านบทคัดย่อของบทความได้ด้านล่างนี้

Abstract:

Federal clean air regulations have spawned a proliferation of motor fuel types that have created differentiated markets for motor fuels, increased the cost of supplying these fuels, and reduced the capacity of the supply infrastructure.

In this paper we examine wholesale gasoline prices in 99 US cities over a time horizon of 204 weeks using a panel data regression model to explain fuel prices as a function of fuel attributes, the price of crude oil, and seasonal and city-market-specific effects.

Our results show that fuel prices are related to the use of a special blend not widely available in the region and more costly to make, and the situation of the particular city market in relation to major refining centers or other sources of supply.

3. ECONversation ครั้งที่ 7: “ตรวจสถานการณ์เศรษฐกิจโลก”, พ.14 พ.ย.

ECONversation ครั้งที่ 7 ร่วมตรวจสถานการณ์เศรษฐกิจโลกกับ ดร.พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย ร่วมจับตาปัญหาเศรษฐกิจอเมริกา เหลียวหาคำตอบให้เศรษฐกิจไทย และสำรวจโอกาสการเกิดวิกฤตการเงินโลกรอบใหม่

พบกันวันพุธที่ 14 พฤศจิกายน 2550 เวลา 15.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชวนคุยโดย อ.ปกป้อง จันวิทย์

หมายเหตุ: ECONversation ครั้งนี้เป็นการสนทนาวงปิดสำหรับอาจารย์และนักศึกษา ไม่อนุญาตให้มีการรายงานข่าวผ่านสื่อ

4. Economic Lecture Series 2: “ประสบการณ์แปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย: ความสำเร็จหรือล้มเหลว?”, จ.19 พ.ย.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ จัด Economic Lecture Series เป็นประจำทุกเดือนในช่วงเปิดภาคการศึกษา ณ ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ ศูนย์รังสิต เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2550

สำหรับ Economic Lecture Series ครั้งที่ 2 เป็นการบรรยายทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ หัวข้อ “ประสบการณ์แปรรูปรัฐวิสาหกิจไทย: ความสำเร็จหรือล้มเหลว?” โดย ผศ.ดร.ภูรี สิรสุนทร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในวันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2550 เวลา 14.00 น. ณ ห้องกิจกรรม หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

5. เสวนาวิชาการ “ความยากจน แรงงาน และสวัสดิการ: โจทย์สำหรับรัฐและชุมชน”, จ.26 พ.ย.

คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “ความยากจน แรงงาน และสวัสดิการ: โจทย์สำหรับรัฐและชุมชน” ตลอดทั้งวัน ในวันจันทร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2550 ณ ห้องประชุมชั้น 5 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยความร่วมมือของหนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ และหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท

เสวนาภาคเช้า (9.30-12.30 น.) ร่วมระดมสมองในหัวข้อ “แรงงานและสวัสดิการแรงงาน: สภาพปัญหา สถานะความรู้ และทางออก” โดยมีวิทยากรนำเสวนาในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

แรงงานนอกระบบ: ผศ.ดร.วัชรียา โตสงวน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

แรงงานต่างด้าว: อ.ดร.กิริยา กุลกลการ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คนจนในชุมชนเมือง: รศ.ดร.นฤมล นิราทร คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สวัสดิการแรงงาน: อ.ดร.นภาพร อติวานิชยพงศ์ สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ระบบประกันสังคม: รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เสวนาภาคบ่าย (13.30-16.30 น.) ร่วมระดมสมองในหัวข้อ “สวัสดิการเพื่อแก้ปัญหาความยากจน: สภาพปัญหา สถานะความรู้ และทางออก” โดยมีวิทยากรนำเสวนาในหัวข้อต่างๆ ดังนี้

มาตรการทางการคลังเพื่อคนจนและคนด้อยโอกาส : ศ.ดร.ปราณี ทินกร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โครงข่ายความปลอดภัยทางสังคม: ศ.ดร.ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

การคลังท้องถิ่นกับสวัสดิการสังคม: รศ.ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

สวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ: รศ.ดร.มัทนา พนานิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

นโยบายสังคมและสวัสดิการสังคม: รศ.ดร.กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

องค์กรการเงินชุมชน: คุณภีม ภคเมธาวี มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ดำเนินการเสวนาโดย รศ.ดร.ปัทมาวดี ซูซูกิ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตลอดทั้งวัน