ประกาศผลหนังสือ”น้ำเล่นไฟ”นิยายดีเด่น


คมชัดลึก :ประกาศรางวัลหนังสือดีเด่นปี 54 ชวดรางวัลดีเด่นถึง 7 ประเภท จากทั้งหมด 14 ประเภท กรรมการตัดสินการประกวดฯ ยอมรับหนังสือบางประเภท โดยเฉพาะหนังสือเด็กที่ชวดรางวัลดีเด่นเป็นประจำขาดคุณภาพเพียงพอ ขณะที่ น้ำเล่นไฟ ของ กฤษณา อโศกสิน รางวัล คว้านิยายดีเด่น หลังจากที่สาขานี้เว้นวางรางวัลดีเด่นมา 2 ปี


เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2554  นายพนม  พงษ์ไพบูลย์  ประธานพิจารณาตัดสินการประกวดหนังสือดีเด่นประจำปี 2554 แถลงผลการประกวดหนังสือดีเด่นประจำปี 2554 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ปีนี้ มีสำนักงานพิมพ์และหน่วยงานต่าง ๆ รวม 98 แห่ง ส่งหนังสือเข้าประกวดหนังสือดีเด่น 14 ประเภท รวมทั้งหมด 419 เรื่อง ผลปรากฎว่า มีหนังสือได้รับรางวัลดีเด่นแค่ 7 ประเภท 7 เรื่อง และมีหนังสือได้รับรางวัลชมเชย 37 เรื่อง ดังนี้


 ประเภทหนังสือสารคดี มีหนังสือส่งเข้าประกวด 59 เรื่อง รางวัลดีเด่น ได้แก่ ผ่ามิติจินตนาการ ของ ชัยวัฒน์ คุประตกุล รางวัลชมชย ได้แก่ กำปั้นนอกสังเวียน ของ ปลายนวม น. เขลางค์ , อินเดียเริ่มที่นี่ ทมิฬนาฑู ของ ศรัณย์ ทองปาน และวิชญดา ทองแดง และ เอกกษัตริย์ใต้รัฐธรรมนูญ ของ วิมลพรรณ ปีตธวัชชัย


 ประเภทหนังสือนวนิยาย มีหนังสือส่งเข้าประกวด 23 เรื่อง รางวัลดีเด่น ได้แก่ น้ำเล่นไฟ ของ กฤษณา อโศกสิน รางวัลชมเชย ได้แก่ ดั่งดาวระยิบฟ้า ของ ชมัยภร แสงกระจ่าง , นิยายในสายหมอก ของ แขคำ ปัณณะศักดิ์ และ วาดวิมาน ของ กนกวลี พจนปกรณ์


 หนังสือกวีนิพนธ์ มีหนังสือส่งเข้าประกวด 16 เรื่อง รางวัลดีเด่น ได้แก่ ฝากเธอช่วยซับน้ำตาโลก ของ สิทธิเดช กนกแก้ว รางวัลชมเชย ได้แก่ โคลงชีวประวัติพระครูวิสุทธิวงษาจาริย์ญาณมุนี (หลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง) วัดไชยธาราราม จังหวัดภูเก็ต ของ คณิต นิยะกิจ , ในความไหวนิ่งงัน ของ นายทิวา และมหาวิหารแห่งสุวรรณภูมิ ของ บัญชา อ่อนดี


 หนังสือรวมเรื่องสั้น มีหนังสือส่งเข้าประกวด 13 เรื่อง รางวัลดีเด่น ได้แก่ วีรชน / คนบ้า / นักล่าเงา ของ เชตวัน เตือประโคน รางวัลชมเชย ได้แก่ คนในคลื่น ของ ไพชัฏ ภูวเชษฐ์ , พ่อผู้ไม่อยากเดินทางไปรัสเซีย ของ ภพ เบญญาภา และ เราล้อมไว้หมดแล้ว ของ จรัญ ยั่งยืน


 หนังสือสำหรับเด็กเล็ก อายุ 3-5 ปี ส่งเข้าประกวด 73 เรื่อง แต่ไม่มีเรื่องใดสมควรได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลชมเชย ได้แก่ ดูซิ ดูซิ ฉันสีอะไร ของ ตุลย์ สุวรรณกิจ , แม่ไก่แม่เป็ด ของ ส. พุ่มสุวรรณ และ หนูรอกับหนูรี ของ คมกฤช มานนท์


 หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กอายุ 6-11 ปี ส่งเข้าประกวด 42 เรื่อง ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลชมเชย ได้แก่ ดาวดวงนั้นของฉันคนเดียว ของ เพนกวินตัวแรก และ ตาลเดี่ยวยอดกตัญญู ของ นวรัตน์ สีหอุไร หนังสือสารคดี สำหรับเด็กอายุ? 6-11? ปี ส่งประกวด 13 เรื่อง ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัลดีเด่นและชมเชย


 หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กวัยรุ่นอายุ? 12-18? ปี ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 25 เรื่อง ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลชมเชย ได้แก่ นักล่าผู้น่ารัก ของ ชนประเสริฐ คินทรักษ์ , มองทุกอย่างจากทุกมุม ของ ณัฐ ศักดาทร และ อีเกิ้งดวงกลม (โสกไผ่ใบข้าว ภาค 3 ของ จตุพร แพงทองดี


 หนังสือสารคดีสำหรับเด็กวัยรุ่น? อายุ? 12-18? ปี ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 21 เรื่อง ไม่มีเรื่องใดสมควรได้รับรางวัลดีเด่น รางวัลชมเชย ได้แก่ บางสิ่งไม่เคยหวนกลับ ของ เยาวชนโครงการค่ายนักเขียนสารคดี ครั้งที่ ๕ , พวกเราแปลงร่างได้ ของ ธิติมา ช้างพุ่ม และพืชพิษ-สัตว์พิษ ของ สุดารัตน์ หอมหวล


 หนังสือบทร้อยกรองสำหรับเด็กวัยรุ่น? อายุ? 12-18? ปี ส่งเข้าประกวด 6 เรื่อง รางวัลดีเด่น? ได้แก่?แสงเทียนส่องทางไทย ของ สิทธิเดช กนกแก้ว รางวัลชมเชย ได้แก่ กาพย์ช่วยจำ คำที่มักใช้ผิด ของ จงจิต (กล้วยไม้) นิมมานนรเทพ , ด้วยรักและผูกพัน ของ สุวัฒน์ ไวจรรยา และลมหายใจของแผ่นดิน ของ สิทธิเดช กนกแก้ว


 หนังสือการ์ตูนหรือนิยายภาพทั่วไป ส่งเข้าประกวด 23 เรื่อง ไม่มีเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล รางวัลชมเชย ได้แก่ แผ่นดินมหัศจรรย์ บ้านฉัน บ้านเธอ ตอน ชุลมุนบุญ สองบ้าน (นัดเหย้า) ของ สรรัตน์ จิรบวรวิสุทธิ์ ,สาว 22 กับโรคนางเอก (ลูคีเมีย) ของ ปิยะนุช เศรษฐวงศ์ และ หอมหัวใหญ่ เล่มที่ ๔ ฉบับกุมหัวใจผู้พิการ ของ รวมผลงานนักเขียนการ์ตูนสำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก


 หนังสือการ์ตูนหรือนิยายภาพสำหรับเด็ก ส่งเข้าประกวด 34 เรื่อง ไม่มีหนังสือเรื่องใดสมควรได้รับรางวัล รางวัลชมเชย ได้แก่ เณรแก้วกับน้อยไชยา ๒ ตอนผจญภัยในภาคกลาง ของ มูลนิธิหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ , อีสปในสวน ของ สมบัติ คิ้วฮก และสุดใจ พรหมเกิด


 หนังสือสวยงามทั่วไป ส่งเข้าประกวด 24 เรื่อง รางวัลดีเด่น ได้แก่ สมุดภาพความทรงจำ เมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง ของ อรรถดา คอมันตร์ รางวัลชมเชย ได้แก่ ทรงสื่อสาร วัฒนาประชาไทย ของ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ , ลมหายใจใต้พระบารมี ของ วรรณชนก สุวรรณกร และณรงค์ สุวรรณรงค์ และ วัตถุชิ้นเยี่ยม พิพิธภัณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทย ของ สุมัยวดี เมฆสุต และคณะ


 และหนังสือสวยงามสำหรับเด็ก ส่งเข้าประกวดทั้งหมด 47 เรื่อง รางวัลดีเด่น ได้แก่ หนูนิ่มผู้มีหัวใจเอื้อเฟื้อ ของ อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา รางวัลชมเชย ได้แก่ พลังงานน้ำ ของ จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ , สักวันหนูจะโต ของ รัตนา คชนาท และ สิมม่วนซื่น ของ อู่ทอง ประศาสน์วินิจฉัย


 “ปีนี้มีหนังสือที่ไม่มีรางวัลดีเด่นถึง 7 ประเภท ซ้ำรอยกับหลายปีก่อนหน้านี้ ทั้งนี้เพราะคณะกรรมการพิจารณาตัดสินไปตามมาตรฐาน แต่จริง ๆ แล้ว ก็มีหนังสือดีจำนวนมาก แต่มีข้อบกพร่องเล็ก ๆ น้อย ๆ จึงทำให้ไม่ได้รับรางวัลดีเด่น อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า หนังสือบางประเภทก็มีปัญหาเรื่องคุณภาพ โดยเฉพาะหนังสือสำหรับเด็ก คณะกรรมการฯเอง ก็คุยกันว่า ควรจะมีการส่งเสริมการพัฒนาหนังสือสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็ก ๆ มีสื่อที่ดีต่อไป “ นายพนม กล่าว


 นางจิตนา   ใบกาซูยี   ประธานคณะอนุกรรมการกลุ่มหนังสือเด็กเล็กอายุ 3-5 ปี  กล่าวว่า จริง ๆ แล้ว หนังสือเด็กมีหนังสือส่งเข้าประกวดจำนวนมาก แต่หนังสือส่วนใหญ่ยังไม่มีคุณภาพเพียงพอ บางเล่มก็เนื้อหาไม่มีเหตุผล หรือบางเล่มก็เป็นการให้ความรู้ตรง ผู้ใหญ่อยากสอนอไรเด็กก็นำมาทำเป็นหนังสือ แต่ขาดศิลปะในการนำเสนอหรือ วรรณศิลป์ ขาดความต่อเนื่อง การใช้ภาษา การผันวรรณยุกต์ก็มีข้อบกพร่อง ไม่สามารถเป็นสื่อที่ดีสำหรับเด็กได้ เพราะฉะนั้น อยากให้มีการพัฒนาการทำหนังสือสำหรับเด็ก เพื่อให้เด็กมีหนังสือที่ดีสำหรับเขา โดยเฉพาะหนังสือบางเล่มอาจเป็นหนังสือเล่มแรกในชีวิตเด็ก จำเป็นที่ต้องเป็นหนังสือที่มีมาตรฐาน


 


ที่มา คมชัดลึก


http://www.komchadluek.net/detail/20110303/90547/%BB%C3%D0%A1%D2%C8%BC%C5%CB%B9%D1%A7%CA%D7%CD%B9%E9%D3%E0%C5%E8%B9%E4%BF%B9%D4%C2%D2%C2%B4%D5%E0%B4%E8%B9.html