ข่าวนี้ ทำให้เครียดเลยค่ะ อ่านด้านล่างนะคะ
ประเทศนี้อยากจะลดภาษาไทย เรียนให้น้อยลงๆๆ เพราะไม่เห็นความสำคัญของภาษาไทย
ขอโทษเถอะค่ะ เราเคยไปสอนเด็กมมหาววิทยาลัย เด็กนักเรียนของเราเขียนคำว่า ชรา เป็น ชลา ทั้งเรื่องเลน (ให้เขียนเรื่องสั้นมาส่ง) นี่นะ ที่ว่า เด็กไทยไม่ควรเรียนภาษาไทย เพราะใช้ทุกวัน
ทัศนคตินี้ คิดกันได้ด้วยนะคะ
รู้มั้ย การที่เด็กอ่อนภาษาไทย มันมีผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคต เพราะการใช้ภาษาไทย เป็นพื้นฐาน เอาง่ายๆ เด็กอ่อนภาษาไทย ถ้าจะทำวิจัยเรื่อง การใช้พลังงานปรมาณูในประเทศไทย หากไม่สามารถเรียบเรียบ เล่าเรื่อง และใข้ภาษาอย่างเหมาะสม คุณคิดว่า เรื่องราวของปรมาณูนั้นน่ะ จะถ่ายทอดออกมาให้เข้าใจได้หรือไม่
เมื่อทักษะแย่ คิดว่าจะสามารถนำเสนอข้อมูลออกมาได้ดีหรือคะ แม่เจ้า ช่างคิดได้แค่นั้น
เรื่องมันเศร้าค่ะ
เราว่า องค์กรของรัฐ ควรจะมาสนใจเรื่องนี้นะคะ กระทรวง ทบวง กรม กระทรวงวัฒนธรรม สถาบันภาษาไทย สมาคมนักเขียน สมาพันธ์นักอ่าน ช่วยกันหน่อยเถอะ
อย่าให้ภาษาไทยถูกลดความสำคัญไปเลย
ข่าว จาก คมชัดลึก 26 กพ. 2551
มบ.เตรียมลดภาษาไทยแค่เลือกเสรี อาจารย์ยื่นหนังสือค้านสภาวิชาการ-หวั่นนิสิตทักษะแย่
ม.บูรพาเตรียมลดวิชาภาษาไทยจากวิชาบังคับปริญญาตรีชั้นปี1 เป็นวิชาเลือกเสรี คาดเริ่มใช้ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยเตรียมยื่นหนังสือค้านสภาวิชาการ ห่วงนิสิตภาษาไทยทรุด
น.ส.ชนิกานต์กู้เกียรติ หัวหน้าภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้คณะกรรมการบริหารวิชาการของมบ.มีหนังสือแจ้งคณะว่า จะปรับให้วิชาภาษาไทย ซึ่งปัจจุบันเป็นวิชาบังคับในทุกสาขาของทุกคณะในระดับปริญญาตรีให้เป็นวิชาเลือก คาดว่าจะนำเข้าสภาวิชาการของมบ.ต้นเดือนมีนาคมนี้ แล้วเสนอสภา มบ.เพื่อเริ่มใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ผู้บริหาร มบ.ให้เหตุผลว่า นิสิตใช้ภาษาไทยเป็นประจำอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องเรียนภาษาไทยเป็นวิชาบังคับ
น.ส.ชนิกานต์ กล่าวอีกว่า เดิม มบ.ให้นิสิติชั้นปีที่ 1 ปริญญาตรีทุกสาขาทุกคณะเรียนวิชาภาษาไทยในรายวิชาศึกษาทั่วไปเป็นวิชาบังคับ 2 วิชา 4 หน่วยกิตในวิชาภาษาไทย 1 ภาษาไทย 2 ต่อมาปรับลดเหลือ 2 หน่วยกิต เป็นวิชาทักษะการใช้ภาษาไทย ต่อมาปี 2549 ปรับวิชาภาษาไทยเป็น 3 หน่วยกิตเป็นวิชาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารให้เรียนตอนภาคเรียนที่ 1 ชั้นปีที่ 1 ได้เรียนอาทิตย์ละ 3 ชั่วโมงรวมแล้ว 1 เทอมเรียนแค่ 48 ชั่วโมง ซึ่งนับว่าน้อยอยู่แล้ว หากจะปรับเป็นวิชาเลือก ก็เท่ากับนิสิตมบ.เรียนภาษาไทยเท่ากับเด็กชั้นมัธยม
ทั้งนี้หลังทราบมติคณะกรรมการบริหารวิชาการอาจารย์ภาควิชาภาษาไทยทั้ง 15 คนจึงยื่นหนังสือคัดค้านโดยผ่านคณะ และเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ยังมีมติร่วมกันจะทำหนังสือคัดค้านพร้อมกับแนบเอกสาร เช่น หลักสูตรที่สอนวิชาการคู่กับการพัฒนาทักษะ พร้อมกับจะทำผลสำรวจความเห็นนิสิตเกี่ยวกับประโยชน์การเรียนภาษาไทยแนบไปด้วย จะยื่นต่อสภาวิชาการของ มบ.ภายในสัปดาห์นี้
“การไปนำวิชาอื่นๆ เช่น วิชาทางสายวิทยาศาสตร์มาเป็นวิชาบังคับแล้วลดความสำคัญภาษาไทยเป็นวิชาเลือก จะทำให้นิสิตอ่อนทักษะภาษาไทย เช่น การสรุปใจความสำคัญ การเขียนรายงาน มีผลต่อการเรียนต่อ การอาชีพ และภาษาไทยเป็นรากเหง้าทางวัฒนธรรมไทยและเกณฑ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) นิสิตต้องมีทักษะที่ดีในการสื่อสาร และนิสิตส่วนใหญ่ก็ใช้ภาษาไทยเป็นหลัก” น.ส.ชนิกานต์ กล่าว
ศ.ดร.สุชาติ อุปถัมภ์ อธิการบดี มบ. กล่าวว่า การปรับหลักสูตรนี้มีคณะกรรมการบริหารวิชาการของ มบ.ดูแล อย่างไรก็ตาม คณะใดจะให้นิสิตเลือกเรียนภาษาไทยก็ได้ไม่จำเป็นต้องบังคับ
ทั้งนี้มีรายงานว่า มบ.เตรียมนำวิชาพลังงานปรมาณูและวิชาความรู้วิทยาศาสตร์ทางทะเลมาเป็นวิชาบังคับแทนภาษาไทย
คมชัดลึก 26 กพ. 2551
http://www.komchadluek.net/2008/02/26/x_edu_e001_191500.php?news_id=191500