…ดิฉันอยากให้หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสืออ่านของเด็กธรรมศาสตร์มาก เพราะว่ามีความรู้สึกว่าถ้าเขารักพ่อของเขา เขาก็ควรจะรู้ว่าพ่อของเขาเป็นใครมาจากไหน
…ชมัยภร แสงกระจ่าง ผู้เขียน “สันติปรีดี” กล่าวไว้ในการอภิปราย พินิจงานเขียนสารคดีเรื่อง สันติปรีดี วันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์…
บันทึกการสนทนา จาก สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย
เรื่องลำดับต่อมาคือหนังสือเล่มนี้ประกอบด้วยบุคคลจำนวนมาก
เรื่องราวที่เอ่ยชื่อเห็นเล่มขนาดนี้
ระยะเวลาการเดินทางตั้งแต่บทที่หนึ่งบุพการีสายที่ ๑ มาจนถึงบทที่ ๔๐ อวสาน
ใช้ระยะเวลาเป็นร้อยปีเกือบสองร้อยปี
ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายกรุงแตกมาจนถึงท่านผู้หญิงพูนศุขถึงแก่อนิจกรรม
ระยะเวลาอันยาวนานสองร้อยกว่าปี
แล้วพี่ชมัยภรสามารถถอดรหัสออกมาเป็นแต่ละบท
ร้อยเรียงมาจนถึงบทที่ ๔๐ อ่านได้อย่างไม่วาง
ผมอ่านอย่างไม่วางเลย สนใจมากไม่ทำอย่างอื่นเลย
เพราะว่าอ่านแล้วมันมัน มันมันไม่ใช่มันแบบสนุกแบบนิยายผจญภัย
แต่มันที่อยากจะรู้ต่อไปว่าแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
บางครั้งถึงกับแบบลุ้นทั้งๆ ที่เรารู้อยู่แล้ว
แต่วิธีการเขียน อยากรู้ในภาษา อยากรู้ในวรรณศิลป์ของพี่ชมัยภร
ว่าจะทำอะไรกับเรื่องราวตรงนี้ จะดึงอะไรออกมา
บางเรื่องยาวมากแต่พี่ก็สามารถขมวดให้สั้นๆ เหลือแค่ย่อหน้าเดียวได้
แล้วก็ผมเองตั้งข้อสังเกตนะครับว่า
บทที่หนึ่งบทที่สองเป็นวิธีการแบบหนึ่งในการเขียนของพี่ชมัยภรที่ทำให้คนอ่านอย่างผมนี่อยากอ่าน
เหมือนอย่างผมเข้าไปอยู่ในสมัยอยุธยาเลย
วิธีการเขียนจะไม่ค่อยเหมือนกันในแต่ละช่วง แต่เราค่อยๆ กลืนไป
อย่างบทที่ ๓ จะไปอีกแบบหนึ่ง กำเนิดปรีดี
แล้วพยายามจะหาว่าจริงๆ ปรีดี พูนศุข มีโรแมนซ์ไหม
เห็นบ้างว่าพี่พยายามจะดึงออกมาในบทที่ ๖ ในบทที่ ๖ บรรจบกัน
พยายามจะให้เห็นเรื่องเล็กเรื่องน้อยที่จริงมันก็เป็นภาพที่ปรากฏให้เราเห็นอยู่ประจำ
แต่เราไม่เคยสังเกต แต่พี่เขาใช้ความเป็นนักอักษรศาสตร์ดึงออกมา
ไม่ว่าจะเป็นดอกไม้ที่เสื้อ นาฬิกา หรืออะไรต่างๆ สามารถดึงออกมา
แล้วใส่สำนวน น่าอ่าน น่าติดตามแล้วเราคล้อยตาม
แต่บทโศกรันทดก็เหลือเกิน กระหน่ำ กระหน่ำ แล้วก็กระหน่ำ
เพราะเรารู้ว่าเป็นเรื่องจริง ปัญหาคือเรารู้ว่าเป็นเรื่องจริง
แล้วใช้วิธีการของนักภาษาศาสตร์มาลำดับให้เรา
บทที่พูดถึงท่านผู้หญิงพูนศุข บทที่พูดถึงคุณปาล พนมยงค์
มันที่สุดของที่สุด ที่สุด ที่สุด ที่สุดเลย
มันทำให้เราซาบซึ้ง ตรึงใจ และลุ่มลึกไปในเรื่องราวของปรีดี พูนศุข
โดย สินธุ์สวัสดิ์ ยอดบางเตย พูดถึงหนังสือ สันติปรีดี ในงานเสวนา
พินิจงานเขียนสารคดีเรื่อง สันติปรีดี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕
ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์
บันทึกการสนทนา จาก ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล
“ผมก่อนกลับมาจากฝรั่งเศสก็ทราบว่า
ในที่สุดแล้ว ร่างท่านอาจารย์ปรีดีได้ไปทำการฌาปนกิจที่สุสานแปลาแชส
ผมก็ตั้งใจก่อนจะกลับฝรั่งเศสไปปารีสแล้วก็ไปเดินเที่ยวอยู่ในนั้น ก็ไม่เห็นอะไร
ปกติก็เป็นสวนสาธารณะ
แต่ว่าพออ่านเล่มนี้ปุ๊บ มันทำให้ภาพที่เราไปเห็นกับสิ่งที่เราอ่าน
มันรู้สึกว่า โอ้…ภาพสุสานอันนี้ โบสถ์อันนี้ที่เราไปเห็นมา
วันนั้นท่านปัญญายืนอยู่ตรงไหนอะไรยังไง
ทำให้เราติดตามเรื่องราวแล้วก็รู้สึกว่าเป็นชะตากรรมที่ค่อนข้างหดหู่นะครับ
คือจริงๆ ผมเองก็พอพูดถึงช่วงท้ายๆ ก็ตอนที่ทำเรื่องราวในหออนุสรณ์สถานที่ตึกโดม
ก็คุยกันเยอะนะครับตอนนั้น ว่าตอนสุดท้ายเราจะพรีเซนต์ยังไง
ก็เลยได้ข้อสรุปว่าให้ท่านผู้หญิงพูนศุขอธิบายเรื่องราวช่วงตอนปลายชีวิต บั้นปลาย
ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากกว่าที่พวกเราจะไปเขียนอธิบายบางอย่างเป็นคนที่สามพูด
แต่ว่าก็เป็นเรื่องราวที่อยากจะบอกว่า
พอตัวเองไปเห็นและตัวเองกลับบ้านมา
แล้วก็เป็นเรื่องผนวกกับภาพที่เคยเห็น
กับเรื่องราวที่เรายังไม่เคยเห็นด้วยตัวของเราเอง
มันก็กลายเป็นเหมือนเรื่องที่เราเข้าไปมีส่วนร่วมในเหตุการณ์นั้นด้วย
ก็พูดไปพูดมาพูดไม่ค่อยออก เอาเป็นว่าผมชื่นชมมากกับงานชิ้นนี้”
ดร.ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง
กล่าวเอาไว้ในการเสวนา พินิจงานเขียนสารคดีเรื่อง สันติปรีดี
เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ ณ สถาบันปรีดี พนมยงค์