ที่ สนท.ว.๕/๒๕๕๐       สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
๓๑ ถนนกรุงเทพ-นนท์ ๓๓ บางซื่อ กท.๑๐๘๐๐
       ๒๒ พฤษภาคม      ๒๕๕๐
เรื่อง ขอเชิญร่วมสัมมนานักเขียนในหัวข้อ “สถานการณ์นักเขียนไทยวันนี้”
เรียน สมาชิกสมาคมฯทุกท่าน
สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑.โครงการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค
๒.กำหนดการจัดงานสัมมนานักเขียน ฯ ครั้งที่ ๑ (ภาคกลาง)

ด้วยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย รวมกับสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กำหนดจะจัดงานสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค ในหัวข้อ “สถานการณ์นักเขียนไทยวันนี้” ในสี่ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคเหนือ และภาคอีสาน โดยจะจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคนั้น ๆ ในระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม ความละเอียดปรากฏตามเอกสารที่ได้ส่งมาพร้อมนี้
สมาคมฯ จึงขอเรียนเชิญท่านเข้าร่วมสัมมนานักเขียนครั้งที่ ๑ โดยไม่เสียค่าลงทะเบียนใด      โดยขอความกรุณาแจ้งความจำนงกลับมายังสมาคมฯได้ดังต่อไปนี้ โดยทางโทรศัพท์ ๐๘๙-๙๘๗๙๙๘๐ (ชมัยภร) ๐๘๑-๘๐๓๒๙๑๖ (นิเวศน์) และ ๐๒-๙๑๐๙๕๖๕ (สราวุธ) หรือทางอีเมล์ที่ [email protected] หรือทางโทรสาร ๐๒-๗๓๕๘๓๐๖ ขอให้แจ้งภายในวันที่ ๒๐ มิถุนายน ๒๕๕๐
สมาคมฯ หวังอย่างยิ่งในความร่วมมือของท่าน และขอขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย
       ขอแสดงความนับถือ

                        (นางชมัยภร แสงกระจ่าง)
       นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย

โทร.๐๘๙-๙๘๗๙๙๘๐ นายกสมาคม)
            ๐๘๑-๘๐๓๒๙๑๖ (นิเวศน์ กันไทยราษฎร์
            ๐๒-๙๑๐๙๕๖๕ (ที่ทำการสมาคมฯ-นายสราวุธ)

โครงการการสัมมนานักเขียนสี่ภูมิภาค
สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
      (มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช)
      (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
(มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์)
โดยการสนับสนุนของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
สถานการณ์ของนักเขียนไทยวันนี้ –คุณภาพหรือปริมาณ
       ——————
หลักการและเหตุผล
งานเขียนมีบทบาทหน้าที่ในฐานะสื่อทางวัฒนธรรมซึ่งจะถ่ายทอดชีวิตและความเป็นไปในสังคมไปสู่คนอ่าน นักเขียนเป็นผู้สร้างสรรค์งานเขียน จึงต้องเป็นผู้มีคุณภาพทั้งในแง่ของความเข้าใจชีวิตอย่างลึกซึ้ง เข้าถึงวัฒนธรรมของชาติ และในขณะเดียวกันก็จะต้องมีความพร้อมในด้านวรรณศิลป์ เพื่อจะได้ถ่ายทอดงานเขียนได้อย่างดี เป็นที่น่าสนใจของคนอ่าน การที่นักเขียนจะมีคุณภาพได้ ก็จะต้องมีการพัฒนาการทางความคิดและทางการเขียนไปพร้อมกัน แต่ในปัจจุบัน ลักษณะสังคมที่เร่งร้อนและการแข่งขันกันในทางทุนนิยม ทำให้นักเขียนไม่ใคร่ได้มีโอกาสได้พบปะสนทนากัน หรือจัดงานสัมมนาร่วมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน อันจะเป็นการพัฒนางานเขียนของตน ดังนั้น เป็นหน้าที่ขององค์กรผู้รับผิดชอบด้านวัฒนธรรมที่จะต้องเข้ามาช่วยเสริมในส่วนนี้อย่างเร่งด่วน สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย ร่วมกับ (มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร/มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช/มหาวิทยาลัยเชียงใหม่/มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์) โดยการสนับสนุนของสำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม จึงเห็นสมควรให้มีการจัดการประชุมนักเขียนในภูมิภาคต่าง ๆขึ้น      
วัตถุประสงค์
1.เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียนในภูมิภาคต่าง ๆ ได้พบปะแลกเปลี่ยนสนทนากัน เพื่อเปิดโลกทัศน์ในการมองชีวิตให้กว้างขวางยิ่งขึ้น
2.เพื่อเปิดโอกาสให้นักเขียนในภูมิภาคต่าง ๆได้ศึกษากลวิธีทางวรรณศิลป์ซึ่งกันและกัน และจักได้นำมาปรับใช้ในการเขียนของตนต่อไป
3.เพื่อประโยชน์ต่อแวดวงการศึกษา ในแง่การศึกษาวิชาการการประพันธ์ วรรณกรรมวิจารณ์ และวรรณกรรมศึกษา โดยมีสถาบันอุดมศึกษาทั้งสี่ภูมิภาคและส่วนกลางเป็นแกนนำ
4.เพื่อก่อให้เกิดความคึกคักและมีสีสันในแวดวงวรรณกรรมไทย อันเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้นักคิด นักเขียนและนักอ่านในสังคมไทยไปพร้อมกัน

กลุ่มเป้าหมาย
นักเขียน นักคิด นักอ่าน และครูอาจารย์ ปัญญาชน ตลอดจนนิสิตนักศึกษาโดยทั่วไป รวม 80-100 คน
การดำเนินงาน
1.ให้สมาคมฯ ประสานงานกับองค์กรนักเขียนทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ และกับมหาวิทยาลัยในภูมิภาคนั้น ๆ และให้องค์กรนักเขียนกับมหาวิทยาลัย โดยภาควิชาภาษาไทย ในคณะมนุษยศาสตร์ หรืออักษรศาสตร์ เป็นแกนนำในการจัด โดยประสานงานกับสมาคมฯ ในการจัดงาน
2. แต่ละครั้งที่จัดให้ใช้ชื่อการสัมมนาใหญ่เป็นหัวข้อเดียวกันทุกภูมิภาค แต่มีการกำหนดหัวข้อย่อยแตกต่างกันไปตามลักษณะเฉพาะของภูมิภาค โดยให้มีการแสดงปาฐกถา การบรรยาย และการอภิปรายโดยนักเขียนและนักวิชาการทางวรรณกรรม ทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค      เพื่อแสดงทัศนะเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานเขียน แนวทางการคิดและเขียนของนักเขียนโดยทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ ให้มีการสัมมนากลุ่มย่อย และการสรุปผล รวมทั้งการอ่านบทกวี และหรือการแสดงละครเพื่อการสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างกันยิ่ง ๆขึ้น
3. ให้มีการจัดทำเอกสารประกอบการสัมมนาในการจัดงานด้วย โดยให้ทางสมาคมฯและฝ่ายภูมิภาคประสานงานกัน ในการจัดทำตามแกนเรื่องที่ใช้ในการสัมมนา
ระยะเวลาในการดำเนินงาน
มีนาคม ประสานงานกับองค์กรและมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค
เมษายน -ธันวาคม ระยะเวลาในการสัมมนา
      ๓๐ มิถุนายน กรุงเทพฯ
      ๒๘ กรกฎาคม นครศรีธรรมราช
      ๖ สิงหาคม บุรีรัมย์
      ๒๕ สิงหาคม เชียงใหม่      
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.ผู้เข้าสัมมนามีโอกาสรับฟังทัศนะใหม่ ๆ เปิดโลกการเขียนการอ่านให้กว้างขวางขึ้น
2.ผู้เข้าสัมมนาได้แสดงทัศนะแลกเปลี่ยนกลวิธีทางวรรณศิลป์ เป็นการสร้างความก้าวหน้าแก่วงการวรรณกรรม
3.แวดวงการศึกษาวิชาวรรณกรรมเกิดการตื่นตัวและพัฒนาการวิชาวรรณกรรมศึกษา
4.เกิดความสมานสามัคคีกันในหมู่นักเขียน
       ———

กำหนดการสัมมานักเขียนสี่ภูมิภาค ครั้งที่ ๑ (ภาคกลาง)
ในหัวข้อ “สถานการณ์นักเขียนไทยวันนี้:คุณภาพ/ปริมาณ”
                   โดยสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย สำนักศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม
                               และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
       ณ ห้องประชุมคณะศิลปกรรมศาสตร์ ชั้น ๑๔ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
วันเสาร์ที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๐ เวลา๘.๓๐ น.-๑๗.๐๐ น.

—————————-
๘.๓๐ ลงทะเบียน
๙.๐๐ ศาสตราจารย์ ดร.วิรุณ ตั้งเจริญ อธิการบดีกล่าวต้อนรับ
๙.๑๕ นางชมัยภร แสงกระจ่าง      นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย กล่าวชี้แจงความเป็นมาของโครงการ
๙.๓๐ ปาฐกถานำ “เกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของนักเขียนไทยวันนี้”-เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
๑๐.๐๐ พัก-น้ำชากาแฟ
๑๐.๑๕ อภิปราย “สถานการณ์นักเขียนไทย-ในท่ามกลางกระแสสังคม-”
อัศศิริ ธรรมโชติ/วัฒน์ วรรลยางกูร/โชคชัย บัณฑิต/เดือนวาด พิมวนา/ ดำเนินรายการโดย
ผศ.อำนาจ เย็นสบาย
๑๒.๐๐ พัก-รับประทานอาหาร
๑๓.๐๐ แบ่งกลุ่มสัมมนาเป็น ๔ กลุ่ม ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ “สถานการณ์นักเขียนไทย-จะก้าวไปทางไหนดี”
กลุ่มที่ ๑-กวีนิพนธ์
กลุ่มที่ ๒-เรื่องสั้น
กลุ่มที่ ๓-นวนิยาย
กลุ่มที่ ๔-สารคดี
ทุกกลุ่มสัมมนาในหัวข้อย่อยดังนี้-สถานการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันของวรรณกรรมประเภทดังกล่าว (สรุปเป็นหัวข้อ ๆ/ทางออกและการแก้ปัญหา/ข้อเสนอแนะทั่วไป)
๑๕.๓๐ พัก-น้ำชากาแฟ
๑๕.๔๕ รายงานผลการสัมมนาบนเวทีใหญ่ เพื่อให้ทุกคนได้เห็นปัญหา และร่วมกันเสนอความเห็นเพิ่มเติม
๑๗.๐๐ ปิดการสัมมนา(นายกสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย)
       ———-