การสัมมนาเรื่อง การวิจารณ์ผลงานของปราบดา หยุ่น

วันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น.

๘.๓๐ – ๙.๑๕ น. ลงทะเบียน
๙.๑๕ – ๙.๓๐ น. หัวหน้าโครงการวิจัย

กล่าวเปิดการเสวนา

๙.๓๐ – ๑๐.๑๕ น. พื้นที่ของปราบดา หยุ่น ในวงวรรณกรรมร่วมสมัย
ดวงฤทัย เอสะนาซาตัง

๑๐.๑๕ – ๑๐.๓๐ น. พัก – อาหารว่าง

๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น. นวัตกรรมการสร้างสรรค์ผลงานของปราบดา หยุ่น

อ. อรรคภาค เล้าจินตนาศรี
อ. นภดล ปรางค์ทอง

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. รับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. วิจารณ์ซ้อนวิจารณ์ : การวิจารณ์งานเขียนของปราบดา หยุ่น

ผศ. ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์
ผศ. ดร. เสาวณิต จุลวงศ์
      
๑๔.๓๐ – ๑๔.๔๕. น. พัก – อาหารว่าง
๑๔.๔๕ – ๑๕.๓๐ น. งานวิจารณ์ทางอินเทอร์เน็ต
จักรพรรดิหน่อง
เล่าชวนหัว      

๑๕.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. การอภิปราย ซักถาม จากผู้เข้าร่วมเสวนา

๑๖.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.      การสรุปเชิงวิเคราะห์จากหัวหน้าโครงการ
                              
ดำเนินรายการโดย ศ. ดร. รื่นฤทัย สัจจพันธุ์
            

ความเป็นมาของปัญหา

      ปราบดา หยุ่น เป็นนักเขียนร่วมสมัยผู้หนึ่งที่มีผลงานโดดเด่น สร้างสรรค์ผลงานจำนวนมากทั้งเรื่องสั้นและนวนิยาย และได้รับรางวัลระดับชาติ ได้แก่ รางวัลวรรณกรรมยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (ซีไรต์) ประจำปี ๒๕๔๕ ด้วย วรรณกรรมของปราบดา หยุ่น มีความโดดเด่นในด้านนวัตกรรมการสร้างสรรค์ การเสนอกลวิธีแปลกๆ ใหม่ ๆ ในการสื่อความหมายอย่างไม่หยุดนิ่ง มีความหลากหลายด้านรูปแบบและเนื้อหา ปราบดาออกแบบรูปเล่มหนังสือและจัดพิมพ์ผลงานโดยสำนักพิมพ์ของตนเอง รวมทั้งใช้เว็บไซด์เพื่อนำเสนอผลงานวรรณกรรมของตนสู่นักอ่านรุ่นใหม่

      วรรณกรรมของปราบดาได้รับการตอบรับจากนักอ่านรุ่นใหม่เป็นอย่างดี และท้าทายการวิจารณ์ ทำให้มีบทวิจารณ์จำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะผลงานที่ได้รับรางวัลซีไรต์      บทวิจารณ์จำนวนหนึ่งเผยแพร่ทางเว็บไซด์ นอกจากนี้ยังผลงานของปราบดายังได้รับความสนใจในวงการศึกษาด้วย

ดังนั้น การเสวนาครั้งนี้จึงมุ่งเน้นไปที่การสร้างสรรค์ผลงานที่จูงใจให้เกิดการวิจารณ์ บทบาทของผลงานในแวดวงวรรณกรรมร่วมสมัยและวงการศึกษา

วัตถุประสงค์

๑.      เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานของปราบดา หยุ่น จากสายตาของบรรณาธิการ นักวิจารณ์ และนักวิชาการ
๒.      เพื่อวิเคราะห์บทวิจารณ์งานของปราบดา หยุ่น
๓.      เพื่อศึกษาทัศนะแนวคิดของผู้เขียนต่อการสร้างสรรค์และการวิจารณ์ในวงวรรณกรรมร่วมสมัย

รูปแบบการดำเนินงาน

      สัมมนาทางวิชาการ ๑ วัน ผู้ร่วมการเสวนาประมาณ ๕๐ คน ประกอบด้วยนักวิจารณ์ นักวิชาการ นักศึกษา สื่อมวลชน และผู้สนใจทั่วไป

ระยะเวลาและสถานที่ในการจัดงา

      วันเสาร์ที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๕๒ เวลา ๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. ณ ห้อง ๔๐๗ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

เอกสารประกอบการสัมมนา
      รวมบทวิจารณ์และบทความวิชาการเกี่ยวกับผลงานของปราบดา หยุ่น

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
      ๑. เอกสารจากการถอดเทปการสัมมนา
      ๒. รายงานวิเคราะห์การสัมมนา
      ๓. บทวิเคราะห์บทความวิจารณ์และผลงานวิชาการ

ผู้เข้าร่วมการสัมมนา ได้รับความรู้ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
๑.      นวัตกรรมการสร้างสรรค์วรรณกรรมไทยร่วมสมัย โดยมีการศึกษาผลงานของปราบดา หยุ่น เป็นกรณีศึกษา
๒.      แนวทางการวิจารณ์งานวรรณกรรมที่มีกระบวนการสร้างสรรค์ในเชิงท้าทายให้ผู้อ่านเกิดความคิดและเข้าถึงความหมาย
๓.      การขยายพื้นที่ของการสร้างสรรค์และการวิจารณ์สู่อินเทอร์เน็ต ปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน-นักอ่าน-นักวิจารณ์