โครงการประชุมเสนอรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1
(1 เมษายน 2549 ถึง 30 กันยายน 2550)
และการประชุมทางวิชาการ เรื่อง “ลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะแขนงต่างๆ : ทัศนะของศิลปิน”

ความเป็นมาของปัญหา
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะพลังทางปัญญาของสังคมร่วมสมัย” ภาค 1 และ 2 ดำเนินการต่อเนื่องเป็นเวลา 6 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2542 ถึง 2548 มีผลงานที่ตีพิมพ์เผยแพร่แล้วเป็นหนังสือรวม 22 เล่ม โครงการวิจัยชี้ให้เห็นถึงศักยภาพและจุดด้อยของการวิจารณ์ในประเทศไทย ซึ่งเป็นเรื่องของการปรับเปลี่ยนจากวัฒนธรรมมุขปาฐะมาสู่วัฒนธรรมลายลักษณ์ โดยที่มีสื่อนานาชนิด เป็นทั้งปัจจัยบวกและปัจจัยลบ ในส่วนที่เกี่ยวกับการพัฒนาการวิจารณ์ โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์” อันเป็น
โครงการฯภาค 3 มุ่งเน้นการศึกษาการวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัย โดยเชื่อมโยงกับงานของศิลปินในสาขาทั้ง 4 ซึ่งในช่วง 18 เดือนแรก (1 เมษายน 2549 ถึง 30 กันยายน 2550) ได้มีการนำผลงานของศิลปินเฉพาะบุคคลมาเป็นกรณีศึกษา เป็นที่แน่ชัดว่าศิลปินร่วมสมัยของไทยมีสำนึกสูงมากในเรื่องของความผูกพันที่มีต่อสังคม และในขณะเดียวกันก็มุ่งที่จะมีพัฒนาศักยภาพและความสามารถส่วนตนให้สูงขึ้น สรุปได้ว่า ทั้งปัจจัยที่เกี่ยวกับความสามารถในเชิงสุนทรียะและการสร้างสรรค์ และทั้งปัจจัยที่เกี่ยวกับความสำนึกในเชิงสังคม เป็นแรงผลักดันให้ศิลปินร่วมสมัยของไทยได้สร้างงานบุกเบิกขึ้นมา ซึ่งบางส่วนเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ
ในการประชุมครั้งนี้ หัวหน้าโครงการฯจะได้เสนอรายงานความก้าวหน้าในช่วง 18 เดือนแรก หลังจากนั้น ศิลปิน 4 คนในสาขาวรรณศิลป์ ทัศนศิลป์ ศิลปะการละคร และสังคีตศิลป์ จะได้มาแสดงทัศนะวิจารณ์ในเรื่อง
“ลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะแขนงต่างๆ : ทัศนะของศิลปิน”

วัตถุประสงค์
๑.      เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงานของโครงการฯในช่วง 18 เดือนแรก
๒.      เพื่อแสดงให้เห็นถึงทัศนะของศิลปิน ทั้ง 4 สาขา ต่อลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะ

รูปแบบการดำเนินการ
จัดประชุมเสนอรายงานการดำเนินงานและประชุมทางวิชาการ 1 วัน ผู้ร่วมสัมมนาประมาณ 50 คน

ระยะเวลาในการดำเนินงาน
      ในวันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้อง 407 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

เอกสารประกอบการสัมมนา
      รายงานผลการดำเนินการของโครงการวิจัยในช่วง 18 เดือนที่ 1

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑.      รายงานการอภิปรายของวิทยากรและผู้เข้าร่วมประชุม
๒.      บทวิเคราะห์จากการประชุม

กำหนดการ
การประชุมเสนอรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1
(1 เมษายน 2549 ถึง 30 กันยายน 2550) และการประชุมทางวิชาการ
เรื่อง “ลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะแขนงต่างๆ : ทัศนะของศิลปิน”
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”
ณ ห้อง 407 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550 เวลา 08.30 -16.00 น.
(โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สกว.] ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร )
——————————————————
08.00 – 08.30 น. : ลงทะเบียน
08.30 – 09.30 น. : ผศ. ดร. ธีระ นุชเปี่ยม หัวหน้าโครงการ กล่าวถึงจุดประสงค์การจัดการประชุม
และเสนอผลการวิจัยของโครงการฯ ในช่วง 18 เดือนที่ 1
09.30 – 09.45 น. : อภิปรายซักถาม

09.45 – 10.00 น. : พัก รับประทานอาหารว่าง

10.00 – 10.45 น. : อภิปรายในหัวข้อ “ลักษณะร่วมสมัยในงานวรรณศิลป์” โดย คุณอัศศิริ ธรรมโชติ
(สาขาวรรณศิลป์)
10.45 – 11.00 น. : อภิปราย/ซักถาม

11.00 -11.45 น. : อภิปรายในหัวข้อ “ลักษณะร่วมสมัยในงานทัศนศิลป์” โดย อาจารย์อรรฆ ฟองสมุทร
(สาขาทัศนศิลป์)
11.45 – 12.00 น. : อภิปราย/ซักถาม

12.00 – 13.00 น. : พัก รับประทานอาหารกลางวัน (อาหารกล่อง)

13.00 – 13.45 น. : อภิปรายในหัวข้อ “ลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะการละคร” โดย คุณประดิษฐ ปราสาททอง
(สาขาศิลปะการละคร)
13.45 – 14.00 น. : อภิปราย/ซักถาม

14.00 – 14.15 น. : พัก รับประทานอาหารว่าง

14.15 – 15.00 น. : อภิปรายในหัวข้อ “ลักษณะร่วมสมัยในงานสังคีตศิลป์ศิลป์” โดย อาจารย์อมานัต จันทรวิโรจน์ (สาขาสังคีตศิลป์)
15.00 – 15.15 น. : อภิปราย/ซักถาม

15.15 – 16.00 น. : กล่าวสรุปและปิดการประชุม โดย ผศ. ดร. ธีระ นุชเปี่ยม หัวหน้าโครงการ

ใบสมัครเข้าร่วมการประชุมเสนอรายงานความก้าวหน้า ครั้งที่ 1
(1 เมษายน 2549 ถึง 30 กันยายน 2550) และการประชุมทางวิชาการ
เรื่อง “ลักษณะร่วมสมัยในงานศิลปะแขนงต่างๆ : ทัศนะของศิลปิน”
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”
ณ ห้อง 407 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
วันเสาร์ที่ 22 กันยายน 2550 เวลา 08.30 -17.00 น.
(โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย [สกว.] ร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร )

——————————————————

1. ชื่อ …………………………………………. นามสกุล ………………………………………………
2. เพศ …………….. อายุ ……………. ปี อาชีพ …………………………….………………
ตำแหน่งทางวิชาการ ……………………………………………………………….………(โปรดระบุถ้ามี)
3. ที่อยู่ที่ติดต่อได้สะดวก ………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………..
โทรศัพท์ : ……………………………………… โทรสาร : ……………………………………………
E-mail : …………………………………………………………………………………………………..
4. การศึกษาขั้นสูงสุด …………………………….. สาขา ………………………………………………
จากสถาบัน ……………………………………………………………………………………………….

โปรดส่งใบสมัครกลับไปภายในวันอังคารที่ 18 กันยายน 2550 ที่
โครงการวิจัย “การวิจารณ์ในฐานะปรากฏการณ์ร่วมสมัยเพื่อพัฒนาความรู้ด้านสังคมศาสตร์การวิจารณ์”
ชั้น 8 ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
โทรศัพท์ : 0-2435-3962: /โทรสาร : 0-2434-6257 E-mail : [email protected], [email protected]

• ค่าลงทะเบียน 200 บาท (รวมค่าเอกสาร ค่าอาหารกลางวัน (อาหารกล่อง) และ ค่าอาหารว่าง )
• การชำระค่าลงทะเบียน ขอให้ชำระเงินในวันสัมมนาฯ